หนึ่งปัญหาเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน คือเด็กจบมาแล้วยังว่างงานกันเป็นแถว ซึ่งเหตุผลของการว่างงานก็มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน และหนึ่งในนั้นอาจจะรวมเรื่องของสาขาที่เรียนไม่ตรงตามความต้องการของตลาดด้วย โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ยังขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทาง ที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณภาพเพียงพอ ที่จะเข้าไปช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้มีความเข้มแข็ง EEC เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงได้จับมือกับภาครัฐและเอกชน เร่งพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาในสาขาอาชีพต่าง ๆ ภายใต้โครงการ “Demand Driven Education” เพื่อป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม อันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ วันนี้เราจึงมีความรู้เรื่อง Demand Driven Education มาแนะนำน้อง ๆ ทุกท่าน พร้อมแล้วไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ

EEC คืออะไรกันนะ?
อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่า EEC คืออะไร ซึ่งความจริงแล้ว EEC : Eastern Economic Corridor ก็คือโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เน้นการพัฒนา 4 ด้านหลัก ๆ คือ โครงสร้างพื้นฐาน ธุรกิจอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว เมืองใหม่และชุมชน
โดยมีเป้าหมายคือ “การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับโลก” ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ “Eastern Seaboard” ที่ได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 30 ปี ในอนาคตอันใกล้นี้ EEC เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศมีการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับเศรษฐกิจโลกให้เติบโตได้ในระยะยาว
แล้วทำไม EEC ถึงต้องเริ่มที่ภูมิภาคนี้? อันนี้ต้องบอกว่า 3 จังหวัดที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ถือว่าเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมและแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เพราะมีทั้งนิคมอุตสาหกรรมกว่า 32 แห่ง, ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง,
ศูนย์การผลิตปิโตรเคมีขนาดใหญ่ของเอเชีย, ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาอีกด้วย แต่ภาคตะวันออกเป็นเพียงโครงการตั้งต้นเท่านั้น ในอนาคต ECC จะเร่งพัฒนาภูมิภาคอื่น ๆ ให้กลายเป็นเขตพัฒนาพิเศษเช่นเดียวกันนั่นเอง

บัณฑิตจบใหม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของ EEC จริงหรือไม่?
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นโครงการใหญ่ที่ต้องการบุคลากรจำนวนมาก กว่า 475,000 คน ซึ่งแม้ว่าในตลาดแรงงานปัจจุบัน จะมีบัณฑิตจบใหม่มากมาย แต่ส่วนใหญ่เล้วกลับมีศักยภาพไม่ตรงตามความต้องการ จึงเป็นที่มาของการเร่งสร้างคนคุณภาพ จนเกิดเป็นหลักสูตร “DemandDriven Education” หรือการจัดการศึกษารูปแบบใหม่เพื่อผลิตกำลังคนให้ตรงความต้องการ (Demand)
เน้นสร้างคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เป็นสำคัญ เพื่อป้อนเข้าสู่ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, อุตสาหกรรมดิจิทัล, อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร, อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต, อุตสาหกรรมโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี, อุตสาหกรรมระบบราง และอุตสาหกรรมการบิน นั่นเอง
แล้ว DemandDriven Education กับ EEC เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
เรื่องนี้เรามีคำตอบ เนื่องจากรัฐบาลมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะ EEC เพราะเป็นฐานการลงทุนส่วนใหญ่ของภาคเอกชน ดังนั้นถ้าระบบการศึกษาไทยสามารถผลิตคนคุณภาพให้ตรงตามความต้องการตามหลักสูตร “DemandDriven Education” ได้ ก็จะมีบุคลากรที่มีความสามารถป้อนเข้าสู่ 10 อาชีพอุตสาหกรรมเป้าหมายได้
ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจผลิตฮาร์ดแวร์และชิ้นส่วน, ธุรกิจบริการซอฟต์แวร์, ธุรกิจบริการข้อมูลดิจิทัล, ธุรกิจผลิตอุปกรณ์สื่อสาร, ธุรกิจบริการสื่อสาร, ธุรกิจบริการดิจิทัล, ธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยาน เป็นต้น ก็จะนำไปสู่การพัฒนาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานของบัณฑิตจบใหม่ได้ และนับเป็นก้าวสำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป

หลักสูตร DemandDriven Education เรียนเกี่ยวกับอะไร?
“DemandDriven” คือ หลักสูตรที่เน้นผลิตกำลังคนให้มีทักษะสูง มีความพร้อมในการทำงานตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ EEC โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันคัดเลือกนักเรียนหรือนักศึกษาเข้าสู่ระบบการเรียนการสอน จัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตั้งแต่ระดับประถม อาชีวะ มัธยม และมหาวิทยาลัย รวมถึงการวางระบบงาน สร้างกฎระเบียบ มีการฝึกอบรมให้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ รวมทั้งต้องกำหนดเกณฑ์การจบการศึกษาที่จำเป็น เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานได้ทันทีที่เรียนจบนั่นเอง
หากเรียนหลักสูตร Demand Driven Education ดีอย่างไร?
- ช่วยแก้ปัญหาบัณฑิตจบใหม่ล้นตลาด เพราะมีงานรองรับหลังเรียนจบ
- ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าทำงานในภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- ช่วยผลิตคนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
- ช่วยพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตตรงจุด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ
- ช่วยพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0
สถาบันที่เข้าร่วมหลักสูตร DemandDriven Education มีที่ไหนบ้าง?
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
- ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
หากระบบการศึกษาตามหลักสูตร DemandDrivenEducation เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น และได้รับการผลักดันเข้าสู่สถานศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ
เราเชื่อว่ามันจะช่วยพัฒนาคนที่มีคุณภาพเข้าสู่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้โดยตรง และปัญหานักศึกษาจบใหม่ว่างงานที่ต้องเจอในปัจจุบัน ก็จะหมดไปโดยเร็ว คราวนี้ก็มาต่อกันที่ ความลับของสล็อตออนไลน์ ที่คาสิโนไม่อยากให้คุณรู้
บทความแนะนำ : ศิลปะกับการแกะสลักผักและผลไม้